หลักเกณฑ์การให้ทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ทุนประเภทที่ 2

         ต้องเป็นผู้มีสิทธิเข้าศึกษาหรือนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกของมหาวิทยาลัย ในหลักสูตรที่ต้องจัดทำวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

         1. คุณวุฒิการศึกษา

               (ก)  ระดับปริญญาโท ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 ในระบบ 4.00 หรือเทียบเท่า

               กรณีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.00 แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 2.75 ต้องมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในรายงานสืบเนื่องจากที่ประชุมวิชาการ หรือวารสารวิชาการระดับชาติที่อยู่ในฐาน TCI กลุ่ม 1 หรือกลุ่ม 2 หรือมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน Scopus อย่างน้อย 1 ผลงาน หรือมีผลงานที่ได้รับรางวัลในระดับชาติหรือนานาชาติที่สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัย

               (ข)  ระดับปริญญาเอกต่อจากชั้นปริญญาตรี ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้วยระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 ในระบบ 4.00 หรือเทียบเท่า

               กรณีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.25 แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 3.00 ต้องมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ ดังนี้

                     – กลุ่มสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์แลเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ จะต้องมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานScopus อย่างน้อย 1 ผลงาน

                     – กลุ่มสาขาวิชาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะต้องมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติที่อยู่ในฐาน TCI กลุ่ม 1 หรือกลุ่ม 2 หรือมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน Scopus อย่างน้อย 1 ผลงาน

               (ค)  ระดับปริญญาเอกต่อจากชั้นปริญญาโท ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้วยระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 ในระบบ 4.00 หรือเทียบเท่า หรือมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ ดังนี้

                    – กลุ่มสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ จะต้องมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน Scopus อย่างน้อย 1 ผลงาน

                    – กลุ่มสาขาวิชาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะต้องมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติที่อยู่ในฐาน TCI กลุ่ม 1 หรือกลุ่ม 2 หรือมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐาน Scopus อย่างน้อย 1 ผลงาน

        2. มีหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ ซึ่งมีอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติตามข้อ 7 (ตามประกาศมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พ.ศ. 2568) รับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก

        3. หัวข้อวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์มีบุคคลซึ่งปฏิบัติงานอยู่ ณ ต่างประเทศรับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ทั้งนี้ บุคคลที่รับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

        4. เป็นผู้ที่มหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ได้รับทุน

          สนับสนุนค่าธรรมเนียมการศึกษา ในระดับบัณฑิตศึกษาตามอัตราของหลักสูตรที่เข้าศึกษา แต่ไม่เกินภาคการศึกษาละ 50,000 บาท นับตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ได้รับอนุมัติทุนจนถึงภาคการศึกษาสุดท้ายของระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร โดยไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่น (ถ้ามี) ที่มหาวิทยาลัยเรียกเก็บ

       ผู้รับทุนจะได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาตามอัตราของหลักสูตรที่เข้าศึกษา และค่าใช้จ่ายรายเดือน นับตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ได้รับอนุมัติทุนจนถึงภาคการศึกษาสุดท้ายของระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร โดยไม่รวมถึงค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่น (ถ้ามี) ที่มหาวิทยาลัยเรียกเก็บ เป็นระยะเวลาดังต่อไปนี้

       1. นักศึกษาที่เข้าศึกษาในระดับปริญญาเอกด้วยคุณวุฒิปริญญาตรี จะได้รับทุนเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปีการศึกษา

       2. นักศึกษาที่เข้าศึกษาในระดับปริญญาเอกด้วยคุณวุฒิปริญญาโท จะได้รับทุนเป็นเวลาไม่เกิน 3 ปีการศึกษา

       3. นักศึกษาที่เข้าศึกษาในระดับปริญญาโท จะได้รับทุนเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปีการศึกษา

         1. เป็นอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาหลักในหลักสูตรที่ขอรับทุน

         2. มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ ดังนี้

              – กลุ่มสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ จะต้องมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus ควอไทล์ที่ 1 หรือควอไทล์ที่ 2 ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี อย่างน้อย 2 ผลงาน โดยจะต้องไม่ใช่ผลงานอันเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสำเร็จการศึกษาของอาจารย์

              – กลุ่มสาขาวิชาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะต้องมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus ย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี อย่างน้อย 2 ผลงาน โดยจะต้องไม่ใช่ผลงานอันเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสำเร็จการศึกษาของอาจารย์

         3. จำนวนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาเมื่อรวมกับผู้สมัครแล้วมีจำนวนไม่เกินหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

      1. ผู้รับทุนต้องจัดทำบันทึกข้อตกลงเงื่อนไขกับมหาวิทยาลัยตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

      2. ผู้รับทุนต้องมีสถานภาพเป็นนักศึกษาสามัญตลอดระยะเวลาของการรับทุน

      3. ผู้รับทุนต้องส่งรายงานผลการศึกษาและความก้าวหน้าการทำวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ในระหว่างการรับทุน โดยผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาหลักให้มหาวิทยาลัยทุกสิ้นภาคการศึกษา

      4. อาจารย์ที่ปรึกษาหลักและบุคคลที่ปฏิบัติงานอยู่ ณ ต่างประเทศซึ่งรับเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ต้องปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษาให้แก่ผู้รับทุนไปจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา

      5. ผู้รับทุนจะต้องมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่จากวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ในวารสารวิชาการ ดังนี้

          (ก)  ระดับปริญญาโท

                  – กลุ่มสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ จะต้องมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่จากวิทยานิพนธ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus ควอไทล์ที่ 1 หรือควอไทล์ที่ 2 จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ผลงาน

                  – กลุ่มสาขาวิชาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะต้องมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่จากวิทยานิพนธ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ผลงาน

          (ข) ระดับปริญญาเอก

                 – กลุ่มสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ จะต้องมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่จากดุษฎีนิพนธ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus ควอไทล์ที่ 1 หรือควอไทล์ที่ 2 จำนวนไม่น้อยกว่า 2 ผลงาน

                 – กลุ่มสาขาวิชาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะต้องมีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่จากดุษฎีนิพนธ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus จำนวนไม่น้อยกว่า 2 ผลงาน

                 ทั้งนี้ ชื่อของผู้รับทุนต้องเป็นชื่อผู้ประพันธ์อันดับแรกในเอกสารเผยแพร่ผลงานวิจัย (First Author) และมีชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาเป็นชื่อผู้ประพันธ์บรรณกิจ (Corresponding Author) หรือผู้ประพันธ์ร่วม (Co-author) และผลงานวิจัยที่เผยแพร่ต้องระบุสังกัด (Affiliation) และที่อยู่ (กรณีต้อง ระบุ) ของผู้รับทุนและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ เป็นมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นลำดับแรก ยกเว้นอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้ประพันธ์ร่วมที่ไม่ได้สังกัดมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

       6. ผู้รับทุนจะต้องระบุการได้รับทุนในหน้ากิตติกรรมประกาศของเล่มวิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์และส่งผลงานวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ให้แก่มหาวิทยาลัยเมื่อสำเร็จการศึกษา

  • มหาวิทยาลัยจะระงับการให้ทุนทั้งหมด หากเกิดกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

          1. ผู้รับทุนพ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษา

          2. ผู้รับทุนได้แต้มเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.25 ติดต่อกันสองภาคการศึกษา หรือได้รับผลการประเมินในรายวิชาวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์สัญลักษณ์U ในภาคการศึกษาใดภาคการศึกษาหนึ่ง

          3. ผู้รับทุนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการรับทุนตามข้อ 10 (ตามประกาศมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พ.ศ. 2568)

          4. ผู้รับทุนยุติการรับทุน

          5. ผู้รับทุนยุติการศึกษา

          6. ผู้รับทุนกระทำทุจริตในการสอบหรือคัดลอกผลงานวิชาการโดยผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ

          7. เหตุอื่นใดที่มหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นสมควรระงับการให้ทุน

  • ในกรณีที่นักศึกษาลาพักการศึกษา มหาวิทยาลัยจะระงับการจ่ายค่าใช้จ่ายรายเดือนช่วงที่มีการลาพักการศึกษา
  • กรณีที่ผู้รับทุนไม่สำเร็จการศึกษา หรือไม่สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ตามที่ประกาศกำหนดได้ ผู้รับทุนจะต้องชดใช้เงินเต็มจำนวนตามที่ได้รับไปแล้ว ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าใช้จ่ายรายเดือน (ถ้ามี)
  • กรณีที่มีเหตุให้พิจารณาการลดหรืองดเว้นการชดใช้เงินทุน มีดังต่อไปนี้

           1. กรณีผู้รับทุนไม่สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ตามข้อ 10.5 (ตามประกาศมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เรื่อง หลักเกณฑ์การสนับสนุนทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พ.ศ. 2568) ที่ประกาศกำหนดได้ ให้เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตร คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสำนักวิชา และคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาตามลำดับ เพื่อพิจารณาการขยายระยะเวลาสำหรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย โดยให้พิจารณาขยายระยะเวลาได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 12 เดือน

           หากครบกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติตามความในวรรคก่อนแล้ว ปรากฎว่าผู้รับทุนไม่สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ได้ คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาอาจเสนออธิการบดีเพื่อพิจารณาให้ลดการชดใช้เงินทุนให้กับผู้รับทุน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามประกาศที่มหาวิทยาลัยกำหนด

           2. กรณีผู้รับทุนไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้ด้วยเหตุสุดวิสัย ให้เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตร คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสำนักวิชา คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา และอธิการบดีเพื่อพิจารณาการลดหรืองดเว้นการชดใช้เงินทุนของผู้รับทุน ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย

Scroll to Top