คู่มือการจัดทำวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2568

คู่มือการจัดทำวิทยานิพนธ์ ระดับบัณฑิตศึกษา
ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2568


ส่วนประกอบ

การจัดทำดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งนักศึกษาจะต้องจัดทำเล่มดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์
และการค้นคว้าอิสระ โดยมีองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่

  1. ส่วนนำ
  2. ส่วนเนื้อหา
  3. ส่วนท้าย

โดยทั้ง 3 ส่วน นักศึกษาจะต้องจัดรูปแบบการพิมพ์ให้เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดในคู่มือการทำวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาฉบับนี้อย่างถูกต้อง

ส่วนนำ

ส่วนนำมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

ระบุชื่อเรื่องภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ชื่อนักศึกษา ชื่อปริญญา ชื่อสาขาวิชา ชื่อมหาวิทยาลัย และปีการศึกษาที่ส่งเล่ม
ระบุรายละเอียดตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด
หน้าอนุมัติสำหรับกรรมการสอบทุกท่านลงนามรับรอง เป็นหลักฐานว่าได้รับการตรวจสอบและเห็นชอบให้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร (รายนามคณะกรรมการสอบ มีตำแหน่งทางวิชาการนำหน้า และมีคุณวุฒิการศึกษา โดยให้ระบุคุณวุฒิสูงสุด)
กิตติกรรมประกาศต้องใช้ภาษาเขียน ไม่ใช่ภาษาพูด โดยเป็นส่วนที่ผู้แต่งแสดงความขอบคุณบุคคล หรือหน่วยงานที่ให้ความสนับสนุน ช่วยเหลือ หรือให้ความร่วมมือ การกล่าวถึงบุคคลต้องเขียน ชื่อ-สกุล โดยมีคำนำหน้าและหากมีตำแหน่งทางวิชาการ หรือ ยศ ฐานันดรศักดิ์ ต้องไม่ใช้ตัวย่อ ควรมีความยาวไม่เกินหนึ่งหน้ากระดาษ
บทคัดย่อเป็นข้อความที่สรุปเนื้อหาทั้งหมด มีสาระสำคัญสามประการ คือวัตถุประสงค์ และขอบเขตของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย (รวมถึงลักษณะของประชากร หรือการสุ่มตัวอย่างประชากร และเครื่องมือที่ใช้) และผลการวิจัย ให้มีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
สารบัญเป็นบัญชีรายการที่ช่วยให้ผู้สนใจค้นหาบท หรือหัวข้อสำคัญในแต่ละบท (ใช้หัวข้อสำคัญระดับแรก เช่น 1.1, 2.1) รวมถึงตาราง ภาพ อักษรย่อและสัญลักษณ์ (ถ้ามี) ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

ส่วนเนื้อหา

จำนวนบท ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษา

ประกอบไปด้วย

1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัย
ชี้แจงถึงที่มาของเรื่องและเหตุผลที่ศึกษาเรื่องนั้น แสดงให้เห็นว่าปัญหาหรือหัวข้อวิจัยนั้นมีความสำคัญมีคุณค่าควรแก่การศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ อาจกล่าวถึงปรากฏการณ์ที่เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขทางความรู้ โดยยกทฤษฎีและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาอ้างอิง สนับสนุน

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
ชี้แจงถึงความมุ่งหมายของการวิจัยว่าต้องการศึกษาอะไร โดยเขียนให้สอดคล้องกับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาวิจัย หากมีวัตถุประสงค์มากกว่าหนึ่งประการให้เขียนแยกเป็นข้อ ๆ เรียงลำดับตามความสำคัญ

3. ความสำคัญของการวิจัย
อธิบายถึงคุณค่าและประโยชน์ที่จะได้จากการวิจัย โดยทั่วไปแบ่งเป็นสองด้าน คือ (1) ความสำคัญในด้านที่จะได้ความรู้เพิ่มขึ้นจากการวิจัย ว่าจะเกิดหลักการ หรือทฤษฎีใหม่อะไรบ้าง และ (2) ความสำคัญในด้านที่จะนำความรู้ที่ค้นพบจากการวิจัยไปประยุกต์ใช้ว่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบาย หรือเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานอะไรบ้าง

4. สมมติฐานของการวิจัย
 แสดงการคาดคะเนคำตอบหรือผลลัพธ์ของการวิจัยไว้ล่วงหน้าเพื่อใช้ในการทดสอบ สมมติฐานของการวิจัยต้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย และสัมพันธ์กับข้อความที่ได้จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง สำหรับการวิจัยประเภทสำรวจอาจไม่แสดงสมมติฐานก็ได้

5. ขอบเขตของการวิจัย
แสดงถึงข้อจำกัดของการวิจัยในด้านต่าง ๆ เช่น ประชากรกลุ่มตัวอย่าง พื้นที่ที่เก็บข้อมูล ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา และรายละเอียดอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการอ้างอิงผลการวิจัย

6. ข้อตกลงเบื้องต้น
แสดงถึงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัยที่ผู้เขียนทำความเข้าใจกับผู้อ่านให้เป็นที่ยอมรับร่วมกัน เพื่อที่จะใช้เป็นเงื่อนไขสำหรับดำเนินการวิจัย หรือเป็นข้อความที่ผู้เขียนขอตกลงกับผู้อ่านเพื่อให้ยอมรับร่วมกันก่อนที่จะสรุปผลการวิจัย เช่น แบบสอบถามเชื่อถือได้ ผู้ตอบแบบสอบถามตอบตามความเป็นจริง การสุ่มตัวอย่างกระทำอย่างไม่ลำเอียง เป็นต้น

7. ข้อจำกัดของการวิจัย
ชี้แจงถึงข้อจำกัดของความรู้ที่ค้นพบจากการวิจัยหรือปัจจัยที่ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เช่น  กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนน้อย เวลาที่ศึกษามีจำกัด เป็นต้น

8. นิยามศัพท์เฉพาะ
อธิบายความหมายของคำศัพท์ที่เป็นคำหลักในการวิจัย โดยให้ความหมายเฉพาะในบริบทของการวิจัยนั้น ๆ เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจในความหมายของศัพท์นั้น ๆ ตรงกัน

นำเสนอ แนวคิด ทฤษฎี หรือสาระอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปจากเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ ในหัวข้อเดียวกัน หรือมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันกับเรื่องที่วิจัยทั้งในด้านเนื้อหา และวิธีดำเนินการวิจัยไม่ควรใช้วิธีคัดลอก หรือสรุปความจากเอกสารต่าง ๆ มาเรียงต่อกันไว้ตามลำดับเวลา ต้องเขียนให้ผสมผสานกลมกลืน และต่อเนื่องกันโดยแยกเป็นประเด็นสำคัญ

อธิบายรายละเอียดในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
อธิบายเกี่ยวกับที่มาของข้อมูลของการวิจัย โดยชี้ให้เห็นถึงลักษณะของประชากรว่าใครเป็นประชากร ใช้ทั้งหมดหรือบางส่วน ถ้าใช้บางส่วน มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างอย่างไร จำนวนตัวอย่างมีขนาดเท่าใด

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
อธิบายลักษณะและคุณสมบัติของเครื่องมือ ว่าใช้เครื่องมืออะไร เครื่องมือนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด หากเป็นเครื่องมือที่ผู้เขียนสร้างขึ้นเองต้องอธิบายถึงการสร้าง และการพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือรวมทั้งต้องชี้แจงให้ชัดเจนด้วยว่าเครื่องมือที่สร้างมีความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือ เช่น ถ้าใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเอง  ก็ต้องอธิบายถึงวิธีสร้างแบบสอบถาม การทดสอบถึงความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม เป็นต้น

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลว่ารวบรวมข้อมูลเมื่อไร อย่างไร เพื่อแสดงให้เห็นว่าได้ใช้วิธีการที่ทำให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ถ้าใช้แบบสอบถามต้องอธิบายถึงวิธีส่ง วิธีเก็บแบบสอบถาม เป็นต้น

 

4. การวิเคราะห์ข้อมูล
อธิบายถึงวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล หรือวิธีการจัดกระทำกับข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ ว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไร อธิบายถึงสถิติที่ใช้ในการวิจัย ว่าวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติอย่างไร ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการตัดสินว่ายอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐาน

รายงานถึงผลของการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้ โดยต้องเขียนอย่างกระจ่างชัดตามข้อเท็จจริง และจัดเรียงลำดับข้อมูลอย่างต่อเนื่องให้เข้าใจง่าย อาจจะใช้ตารางหรือภาพประกอบตามความเหมาะสม ต้องเป็นการรายงานผลของการวิเคราะห์ข้อมูลของงานวิจัยนี้เท่านั้น ไม่นำเอาผลการวิจัยอื่นมาปะปน ผู้เขียนต้องวิเคราะห์ด้วยว่าสมมติฐานที่ได้ตั้งขึ้นนั้นมีหลักฐานที่จะสนับสนุนหรือหักล้างประการใดบ้าง เพื่อสรุปว่าจะยอมรับสมมติฐานที่ตั้งขึ้นนั้นหรือไม่

1. สรุป
เป็นการสรุปสาระสำคัญของงานวิจัยทั้งหมด ตั้งแต่วัตถุประสงค์สมมติฐาน วิธีการวิจัยและผลการวิจัย ต้องเป็นไปอย่างรวบรัด แต่ได้ใจความสมบูรณ์ ตรงประเด็นตามข้อค้นพบ โดยอยู่ในกรอบของเรื่องที่ศึกษา ไม่นำเอาข้อสรุปของงานวิจัยอื่นมารวมไว้ นอกจากนี้ต้องไม่แสดงความคิดเห็นหรืออคติใด ๆ และไม่จำเป็นต้องกล่าวอ้างอิง หรือยกข้อความอื่น ๆ มาสนับสนุน

2. อภิปรายผล
เป็นการขยายองค์ความรู้ที่ได้จากการสรุปผลให้กว้างขวางและชัดเจนขึ้น เป็นการวิจารณ์ในเชิงเหตุผลถึงงานวิจัยที่ทำไปแล้วว่าเหตุใดผลการวิจัยจึงปรากฏเช่นนั้น ทั้งนี้โดยยึดวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการวิจัยเป็นแนวทาง นอกจากนี้ผู้เขียนต้องเปรียบเทียบผลการวิจัยของตนกับผลการวิจัยอื่นที่มีผู้ทำไว้แล้วด้วย โดยต้องระบุให้ชัดเจนว่าผลการวิจัยของตนสนับสนุนหรือมีข้อขัดแย้งกับผลงานวิจัยอื่นหรือไม่อย่างไร รวมทั้งชี้ให้เห็นด้วยว่าการวิจัยนี้มีผลที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือผลที่จะไปลบล้างหรือเปลี่ยนแปลงแนวคิดในเรื่องที่ได้มีการศึกษากันมาแล้วหรือไม่

3. ข้อเสนอแนะ
คือส่วนที่ผู้เขียนให้ข้อเสนอแนะในประเด็นหรือแง่มุมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและข้อค้นพบจากการวิจัย

ส่วนท้าย

เป็นส่วนที่รวมรายการแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้แต่งใช้อ้างอิงในการเขียน (รายการอ้างอิงจะต้องอ้างอิงตรงกับเนื้อหา) เช่น หนังสือ บทความในวารสาร หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ รวมทั้งโสตทัศนวัสดุ และแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ให้รายละเอียดทางบรรณานุกรมที่ถูกต้องตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
เป็นส่วนที่เพิ่มเติมรายละเอียดต่าง ๆ จากส่วนเนื้อหา เช่น ชื่อบุคคลที่ให้ข้อมูล แบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นต้น เพื่อช่วยเสริมความเข้าใจในเนื้อหาสาระ หรือทำให้เนื้อหาสมบูรณ์ขึ้น หากนำเสนอเป็นตารางหรือภาพ ให้จัดรูปแบบเหมือนเนื้อหา (ถ้ามีเอกสารรับรองจริยธรรมในมนุษย์ ต้องนำมาใส่ในภาคผนวก ก)
(จัดทำหรือไม่จัดทำก็ได้ หากจัดทำให้เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด) เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดโดยสรุปเกี่ยวกับผู้แต่ง ได้แก่ ชื่อ นามสกุล ประวัติการศึกษา (ให้ระบุระดับปริญญาตรีขึ้นไป และจบการศึกษาแล้วเท่านั้น) ประวัติการทำงาน (ถ้ามี), ทุนการศึกษา (ถ้ามี) และผลงานทางวิชาการ (ถ้ามี) โดยให้เรียงลำดับปีปัจจุบันขึ้นก่อน

ข้อกำหนดการพิมพ์ทั่วไป

การพิมพ์เลขหน้า และการลำดับหน้า

การแบ่งบท หัวข้อในบท และเนื้อหาแต่ละหัวข้อ

จำนวนบท ให้อยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษา

การพิมพ์ศัพท์เฉพาะ

ตาราง/ภาพ

Example Table 

1. ตาราง
ตารางต้องมีความชัดเจน ไม่เป็นภาพตาราง และจัดรูปแบบตารางตามที่กำหนด
2. เลขกำกับตาราง
พิมพ์คำว่า ตารางที่ และตามด้วยเลขกำกับตาราง (ตัวอักษรแบบหนา) โดยใช้เลขบทตามด้วยเลขลำดับ เช่น ตารางที่ 2.1, ตารางที่ 4.5 เป็นต้น จัดข้อความชิดซ้าย
3. ชื่อตาราง
พิมพ์ด้วยตัวอักษรธรรมดา ต่อจากเลขกำกับตาราง โดยเว้น 2 ระยะตัวอักษร หากชื่อตารางยาวเกินหนึ่งบรรทัด ให้พิมพ์ต่อในบรรทัดถัดไป โดยให้ชื่อตารางในบรรทัดที่ 2 ตรงกับชื่อในบรรทัดแรก
4. การเว้นระยะ
กรณีที่จบตาราง ให้เว้น 24 pt หรือ 2 บรรทัด ระหว่างข้อความต่อไป
5. เส้นตาราง
1) เส้นตารางมีความกว้างเท่าการกำหนดขอบเขตของหน้ากระดาษ
2) ถ้าตารางมีขนาดใหญ่ สามารถลดขนาดตัวอักษรและตัวเลขในตารางให้มีขนาดเท่ากัน แต่ต้องคงความชัดเจน และเข้าใจง่าย
3) ให้มีเส้นเฉพาะแนวนอน โดยเส้นขอบบนสุดและท้ายสุดที่ปิดตารางให้ใช้เส้นคู่ เส้นระหว่างส่วนหัวตารางและข้อความในตาราง ให้ใช้เส้นเดียว
4) กรณีตารางมีความยาวมากกว่าหนึ่งหน้า เส้นสุดท้ายให้ใช้เส้นเดียว และให้ใช้เส้นคู่ปิดตารางในหน้าสุดท้ายเท่านั้น
6. ข้อความและตัวเลขในตาราง
1) หัวตาราง ใช้ตัวอักษรแบบหนา จัดกึ่งกลางช่อง
2) ข้อความในตารางควรคำนึงถึงความสมดุลของแต่ละช่อง
3) ตัวเลขในตาราง จัดตัวเลขหลักหน่วยให้ตรงกัน ถ้าเป็นเลขทศนิยมก็ควรใช้ตัวเลขที่มีจำนวนหลักของทศนิยมเท่ากันและจัดจุดทศนิยมให้ตรงกัน
4) ตาราง (ต่อ) กรณีที่ตารางมีความยาวมากไม่สามารถจัดให้อยู่ในหน้าเดียวได้ ให้พิมพ์ส่วนที่เหลือในหน้าถัดไป โดยระบุเลขกำกับตารางพร้อมคำ ต่อ อยู่ในวงเล็บกลม ไม่ต้องระบุชื่อตาราง เช่น ตารางที่ 2.1 (ต่อ) แต่ต้องมีหัวของตารางเหมือนกับในหน้าแรก
5) ตารางแนวขวาง ตารางที่มีความกว้างเกินแนวตั้งของหน้า ให้จัดแบบแนวขวาง โดยตั้งค่ากระดาษแบบแนวขวาง
6) หมายเหตุของตาราง (ถ้ามี) ให้พิมพ์หมายเหตุติดกับเส้นล่างของตาราง โดยพิมพ์ หมายเหตุ (ตัวอักษรแบบหนา) ข้อความในส่วนหมายเหตุให้พิมพ์ในบรรทัดใหม่ ชิดแนวคั่นหน้า และหากข้อความไม่จบในบรรทัดเดียว ให้พิมพ์ต่อในบรรทัดที่สองให้ตรงกับคำในบรรทัดแรก
7) ที่มาของตาราง (ถ้ามี) หากคัดลอกตารางมาจากแหล่งอื่น ให้พิมพ์คำว่า ที่มา (ตัวอักษรแบบหนา) ไว้ชิดแนวคั่นหน้า เว้นสองระยะตัวอักษร แล้วให้อ้างอิงตามแบบที่กำหนด และให้เขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรมของแหล่งที่มาของตารางนั้นในรายการอ้างอิงท้ายเล่มด้วย
8) หมายเหตุ และที่มาของตาราง (ต่อ) ให้พิมพ์หน้าสุดท้ายของท้ายตารางที่จบ
9) การอธิบายตาราง ข้อความที่อธิบายตารางให้ระบุเลขกำกับตาราง เช่น จากตารางที่ 4.5 . . . ไม่ให้เขียนว่าตารางข้างต้น หรือ ตารางต่อไปนี้ หรือ ตารางในหน้า เป็นต้น

Example 

1. ภาพ หมายรวมถึง ภาพ แผนภูมิ แผนที่ แผนผัง กราฟ และโครงสร้างทางเคมี ที่มีความชัดเจน จัดไว้กลางหน้ากระดาษ และไม่เกินกรอบขอบเขตของกระดาษ

2. เลขกำกับภาพ พิมพ์คำว่า ภาพที่ (ตัวอักษรแบบหนา) และเลขกำกับภาพ โดยใช้เลขบทตามด้วยเลขลำดับ เช่น ภาพที่ 2.1, ภาพที่ 4.5 เป็นต้น จัดไว้กลางภาพ

3. ชื่อภาพ พิมพ์ด้วยตัวอักษรธรรมดา ต่อจากเลขกำกับภาพ โดยเว้น 2 ระยะตัวอักษร หากชื่อภาพยาวเกินหนึ่งบรรทัด (ให้จัดข้อความแบบกระจาย) และให้ชื่อในบรรทัดที่ 2 ตรงกับชื่อในบรรทัดแรก

4. การเว้นระยะ ให้เว้น 24pt หรือ 2 บรรทัด ท้ายชื่อภาพ ก่อนจะขึ้นเนื้อหาใหม่

5. ภาพที่ (ต่อ) กรณีที่ภาพไม่สามารถจัดให้อยู่ในหน้าเดียวกันได้ ให้นำภาพที่เหลือจัดอยู่ในหน้าถัดไป โดยระบุเลขกำกับภาพพร้อมคำ ต่อ อยู่ในวงเล็บกลม (ตัวอักษรแบบธรรมดา) ไม่ต้องระบุชื่อภาพ เช่น ภาพที่ 2.1 (ต่อ)

6. ภาพแนวขวาง ภาพที่มีความกว้างเกินแนวตั้งของหน้า ให้จัดแบบแนวขวาง โดยตั้งค่ากระดาษแบบแนวขวาง

7. หมายเหตุ (ถ้ามี) ให้พิมพ์ติดกับภาพ โดยพิมพ์ หมายเหตุ (ตัวอักษรแบบหนา) ชิดแนวคั่นหน้า และเว้นสองระยะตัวอักษร และพิมพ์ข้อความต่อ หากข้อความไม่จบในบรรทัดเดียว ให้พิมพ์ต่อในบรรทัดที่สองโดยให้ข้อความตรงกับบรรทัดแรก

8. ที่มาของภาพ (ถ้ามี) หากคัดลอกภาพมาจากแหล่งอื่น ให้พิมพ์คำ ที่มา (ตัวอักษรแบบหนา) ไว้ชิดแนวคั่นหน้า เว้นสองระยะตัวอักษร แล้วให้อ้างอิงตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด และให้เขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรมของแหล่งที่มาของตารางนั้นในรายการอ้างอิงท้ายเล่มด้วย

9. หมายเหตุ และที่มาของภาพ (ต่อ) ให้พิมพ์หน้าสุดท้ายของภาพสุดท้าย

10. การอธิบายภาพ ให้ยึดหลักเดียวกับตาราง เช่น จากภาพที่ 4.5 . . . ไม่ให้เขียนว่าภาพข้างต้น หรือ ภาพต่อไปนี้ หรือ ภาพในหน้า เป็นต้น

การอ้างอิง

หากคุณมีคำถามโปรดติดต่อเรา

Scroll to Top