ระยะเวลาการศึกษา/ทั่วไป

A : 1. ปริญญามหาบัณฑิต    
            ไม่เกิน 4 ปีการศึกษา นับจากภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
     2. ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
             แบบ 1.1 และ 2.1 ไม่เกิน 5 ปีการศึกษา นับจากภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
             แบบ 1.2 และ 2.2 ไม่เกิน 7 ปีการศึกษา นับจากภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
        กรณีนักศึกษาไม่สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาการศึกษาดังกล่าว อาจยื่นเรื่องขอขยายระยะเวลาได้ ทั้งนี้ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เรื่อง หลักเกณฑ์การขอขยายระยะเวลาการศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2557 (https://goo.gl/NsfF5U)

A :   1. นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบป้องกันเรียบร้อยแล้ว มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจน
มีแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน และต้องยื่นคำร้อง (DGC23) ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด
      2. ส่งคำร้อง (DGC23) ต่อ อาจารย์ที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณะกรรมการประจำสำนักวิชาเพื่อพิจารณา หากสำนักวิชาเห็นควรให้ขยายระยะเวลาการศึกษาได้ สำนักวิชาจะเสนอวาระเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติ และเสนอผลการพิจารณาต่อ
สภาวิชาการทราบ (ประกาศ https://goo.gl/NsfF5U)
A :  1. กรณีนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำนักวิชาการจัดการ สามารถชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาตามอัตราที่มหาวิทยาลัยกำหนด (https://goo.gl/c2oYqR) จนครบระยะเวลาการศึกษาสูงสุดตามข้อ 34.
      2. กรณีนักศึกษาทุกหลักสูตร ยกเว้นหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำนักวิชาการจัดการ
          2.1    นักศึกษาก่อนรหัส 60xxx ให้นักศึกษาดำเนินการส่งรายงานความก้าวหน้า (DGC20) ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามปฎิทินการศึกษาภาคการศึกษานั้นๆ และสามารถชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาได้ตามปกติ จนครบระยะเวลาการศึกษาสูงสุดตามข้อ 34.
                กรณีไม่สามารถยื่นรายงานความก้าวหน้าภายในช่วงเวลาที่กำหนด จะถือว่าความก้าวหน้าเท่ากับภาคการศึกษาก่อนหน้า และจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาเท่ากับภาคการศึกษาก่อนหน้า
         2.2    นักศึกษารหัส 60xxx เป็นต้นไป สามารถชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาตามอัตราที่มหาวิทยาลัยกำหนด (https://goo.gl/6df3TA) จนครบระยะเวลาการศึกษาสูงสุดตามข้อ 34.
A :  นักศึกษาสามารถขอลาพักการศึกษาได้ในกรณีดังต่อไปนี้
     1. นักศึกษาได้รับทุนแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศหรือทุนอื่นซึ่งมหาวิทยาลัยเห็นสมควรสนับสนุน
     2. นักศึกษาป่วยจนต้องรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์เป็นระยะเวลาเกินกว่า 3 สัปดาห์ โดยมีใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาลของทางราชการ หรือจากสถานพยาบาลเอกชนที่กระทรวงสาธารณสุขรับรอง
     3. นักศึกษามีความจำเป็นส่วนตัวโดยนักศึกษาต้องศึกษาในมหาวิทยาลัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา และมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00
** การลาพักการศึกษาไม่สามารถทำได้ในกรณีที่เป็นภาคการศึกษาสุดท้ายที่นักศึกษาจะต้องทำการสอบวัดคุณสมบัติ และ /หรือสอบโครงร่างดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ

A : ระยะเวลาที่นักศึกษาได้รับอนุมัติให้ลาพักการศึกษา นับเป็นส่วนหนึ่งของระยะเวลาการศึกษาตามแผนการศึกษาของนักศึกษา

A :     1. เมื่อมหาวิทยาลัยตรวจสอบพบว่าขาดคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
        2. เมื่อศึกษาครบถ้วนตามที่หลักสูตรกำหนด และได้รับประกาศนียบัตร หรือ ปริญญาบัตรแล้ว
        3. เมื่อได้รับอนุมัติจากอธิการบดีให้ลาออก โดยนักศึกษาต้องยื่นคำร้องที่ได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและคณบดีต่อส่วนทะเบียนและประมวลผล เพื่อขออนุมัติจากอธิการบดี
        4. เมื่อสิ้นสุด  2  สัปดาห์แรกของภาคการศึกษาแล้ว ยังไม่ได้ลงทะเบียนเรียน หรือยังไม่รักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา และยังไม่ได้ชำระเงินค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าธรรมเนียมประเภทอื่น (ถ้ามี) ทั้งนี้นักศึกษาที่พ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษาอาจขอคืนสถานภาพการเป็นนักศึกษาภายในภาคการศึกษานั้นได้ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา คณบดี และต้องได้รับอนุมัติจากอธิการบดี
        5. นักศึกษาทดลองศึกษาที่ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.00 หรือไม่ผ่านตามเงื่อนไขที่แต่ละหลักสูตรกำหนด เมื่อสิ้นภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
        6. นักศึกษาสามัญซึ่งได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.00 เป็นเวลา 2 ภาคการศึกษาติดต่อกัน
        7. นักศึกษาหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต แผน ข ที่สอบไม่ผ่านการสอบประมวลความรู้ ครั้งที่ 2
        8. นักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ดำเนินการสอบวัดคุณสมบัติ ภายใน 4 ภาคการศึกษานับจากภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา หรือสอบไม่ผ่านภายใน 6 ภาคการศึกษานับจากภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา    
       9. นักศึกษาหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิตที่สอบไม่ผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ ครั้งที่ 2 เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบให้เปลี่ยนระดับการศึกษาสู่ระดับปริญญามหาบัณฑิต
      10. สอบไม่ผ่านการสอบโครงร่างดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ ภายในระยะเวลาตามที่กำหนด
      11. สอบไม่ผ่านการสอบป้องกันดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ ในการสอบครั้งที่ 2
      12. เมื่อไม่สำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาการศึกษาที่มหาวิทยาลัยกำหนด
      13. เมื่อนักศึกษาได้รับสัญลักษณ์ U ในรายวิชาดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ
ติดต่อกัน 2 ครั้ง
     14. ทุจริตในการทำดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระอย่างร้ายแรง
     15. เมื่อมหาวิทยาลัยสั่งให้พ้นสถานภาพการเป็นนักศึกษา เพราะกระทำผิดข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศของมหาวิทยาลัย
     16. ถึงแก่กรรม

A : ติดต่อส่วนทะเบียนและประมวลผล เพื่อสอบถามข้อมูลรหัสผ่าน
     ที่เบอร์โทรศัพท์ 0-5391-6544 หรือ 0-5391-6545

A : นักศึกษาสามารถตรวจสอบหลักเกณฑ์การเทียบโอนรายวิชาได้จากข้อบังคับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2560 ในหมวดที่ 7 การลงทะเบียน ส่วนที่ 3 การเทียบโอนรายวิชา หน้า 29 (https://postgrads.mfu.ac.th/index.php/current-students/regulations-announced/regulations-thai/regulations-60)

PART: อาจารย์ที่ปรึกษา

A : 1. เข้าเว็บไซต์ https://mfugradmis.mfu.ac.th/ 2. ไปที่เมนู งานศึกษาวิจัย 3. เลือก “อาจารย์แสดงความคิดเห็น” ของนักศึกษาที่ยื่นเรื่องขอสอบ

4. อาจารย์ให้ความคิดเห็น และเลือก “อนุมัติ” สามารถดูคู่มือได้จาก Website:  https://mfugradmis.mfu.ac.th/
A :   1. นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบป้องกันเรียบร้อยแล้ว มีความก้าวหน้าอย่างชัดเจน
มีแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน และต้องยื่นคำร้อง (DGC23) ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด
      2. ส่งคำร้อง (DGC23) ต่อ อาจารย์ที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณะกรรมการประจำสำนักวิชาเพื่อพิจารณา หากสำนักวิชาเห็นควรให้ขยายระยะเวลาการศึกษาได้ สำนักวิชาจะเสนอวาระเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติ และเสนอผลการพิจารณาต่อ
สภาวิชาการทราบ (ประกาศ https://goo.gl/NsfF5U)
Scroll to Top